ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับหรือที่เรียกกันว่า “พ.ร.บ.” คือ การทำประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองประชาชน โดยให้ค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต ที่เรียกว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เนื่องจาก บังคับ ให้ผู้ขับขี่ทุกประเภททำประกันภัย พ.ร.บ. หากฝ่าฝืนกฎหมายกำหนดโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีการ คุ้มครองดังนี้ |
ความคุ้มครอง | วงเงินความคุ้มครอง (บาท/คน) | ||
1. จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด | |||
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) | 30,000 | ||
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร | 35,000 | ||
2. ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด) | |||
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ | ไม่เกิน 80,000 บาท | ||
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง | 500,000 | ||
2.3 สูญเสียมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือหรือแขนสองข้าง หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาสองข้าง หรือสายตาสองข้าง (ตาบอด) | 500,000 | ||
2.4 สูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ แขนหนึ่งข้าง เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า ขาหนึ่งข้าง สายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป | 500,000 | ||
2.5 ทุพพลภาพอย่างถาวร ที่ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้ | 300,000 | ||
2.6 สูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาหนึ่งข้างหรือสายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) กรณีใดกรณีหนึ่ง | 250,000 | ||
2.7 หูหนวก เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธ์ุ จิตพิการอย่างติดตัว | 250,000 | ||
2.8 การสูญเสียอวัยวะอื่นใดที่กระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของผู้ประสบภัย เช่น การสูญเสีย ม้าม ปอด ตับ ไต ฟันแท้ทั้งซี่ตั้งแต่ 5 ซี่ขึ้นไป หรือกรณีกะโหลกศีรษะ ถูกทำให้เสียหายเป็นเหตุให้ต้องใช้กระโหลกเทียม เป็นต้น | 250,000 | ||
2.9 สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว | 200,000 | ||
2.10 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน | สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท | ||
กรณีบาดเจ็บ | กรณีเสียชีวิต |
บัตรประชาชน (ผู้ขับขี่ และผู้บาดเจ็บ) | บัตรประชนผู้ขับขี่ |
ใบขับขี่ (ผู้ขับขี่) | สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขับขี่) |
สำเนาทะเบียนรถ | สำเนาทะเบียนรถ |
สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขับขี่ และผู้บาดเจ็บ) | หน้าตาราง พ.ร.บ. |
หน้าตาราง พ.ร.บ. | บันทึกประจำวันตำรวจ |
บันทึกประจำวันตำรวจ | ใบมรณะบัตร |
ใบเสร็จค่ารักษา (ตัวจริง) | ใบชันสูตรพลิกศพ หรือใบรับรองการตาย |
ใบรับรองแพทย์ | บัตรประชน + ทะเบียนบ้าน (ผู้เสียชีวิต) |
บัตรประชาชน+ทะเบียนบ้าน ผู้รับผลประโยชน์ |
ผู้ใช้รถควรรู้ |
เกิดอุบัติเหตุจากรถ เบิก พ.ร.บ. ก่อนเสมอ |
.. เกิดเหตุจากรถใช้ พ.ร.บ. รถเราขับมา นั่งมา เบิกได้ทันที ไม่ต้องรอถูกผิด |
.. เมา ไม่มีใบขับขี่ ถ้าเกิดเหตุ ทั้งผิดและถูก พ.ร.บ. คุ้มครอง 100% |
.. รักษาด้วย พ.ร.บ. เข้าได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งรัฐ และเอกชน |
.. ถูกรถชนไม่ว่าจะเดินถนน ซ้อนท้าย ขับขี่ สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ แม้ไม่มี พ.ร.บ |
.. พ.ร.บ. ขาดแม้แต่วินาทีเดียว ก็ไม่คุ้มครอง |
.. รถที่ไม่ได้ต่อทะเบียน ก็สามารถทำ พ.ร.บ. เพื่อให้มีความคุ้มครองเมื่อประสบภัยได้ |
.. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ. ถูกจับ ปรับได้สูงสุด 10,000 บาท ทั้งคนขับ และเจ้าของรถ |